เจาะลึกข้อสอบ TGAT3 #DEK68 เตรียมตัวยังไง
กันยายน 27, 2024
เจาะลึกข้อสอบ TGAT3 #DEK68 เตรียมตัวยังไง
น้อง ๆ คนไหนที่กำลังเตรียมตัวสอบ TGAT สามารถดูสรุปข้อมูล TGAT ที่พี่ได้รวบรวมไว้ได้ที่
และสำหรับน้องที่จะสอบ TGAT3 แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง ในบทความนี้พี่ก็มีข้อมูลและแนวข้อสอบของ TGAT3 มาให้น้อง ๆ ทำความคุ้นเคยว่าในแต่ละหัวข้อ ข้อสอบมีลักษณะเป็นยังไง ต้องเน้นตรงไหนถึงจะทำข้อสอบให้ได้คะแนนดี
ข้อสอบ TGAT3 ออกอะไรบ้าง มีกี่ข้อ
TGAT3 สมรรถนะการทำงาน (Future Workforce Competencies) เป็นข้อสอบเพื่อประเมินทักษะและทัศนคติที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต โดยเน้นการคิดวิเคราะห์ตามสถานการณ์ ซึ่งต้องทำความเข้าใจโจทย์และเข้าใจวิธีการตอบคำถาม เพราะการตอบจะมีทั้งแบบเลือกคำตอบเดียวหรือเลือกหลายคำตอบ และในบางหัวข้อ คำตอบจะมีคะแนนแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ 0-1 คะแนน (0, 0.25, 0.50, 0.75, 1) ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก มีทั้งหมด 60 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ข้อสอบ TGAT3 จะแบ่งเป็น 4 หัวข้อด้วยกัน คือ
- การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม 15 ข้อ
- การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 15 ข้อ
- การบริหารจัดการอารมณ์ 15 ข้อ
- การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม 15 ข้อ
วิเคราะห์คะแนน TGAT3 ควรตั้งเป้าหมายคะแนนเท่าไหร่ดี
TGAT3 ปี 67 มีจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด 268,481 คน แบ่งจำนวนคนตามช่วงคะแนนที่ได้ ดังนี้
- คนที่ได้คะแนน 0-10 คะแนน มี 1,723 คน
- คนที่ได้คะแนน 10.001-20 คะแนน มี 1,778 คน
- คนที่ได้คะแนน 20.001-30 คะแนน มี 3,371 คน
- คนที่ได้คะแนน 30.001-40 คะแนน มี 5,988 คน
- คนที่ได้คะแนน 40.001-50 คะแนน มี 14,340 คน
- คนที่ได้คะแนน 50.001-60 คะแนน มี 34,600 คน
- คนที่ได้คะแนน 60.001-70 คะแนน มี 95,848 คน
- คนที่ได้คะแนน 70.001-80 คะแนน มี 102,210 คน
- คนที่ได้คะแนน 80.001-90 คะแนน มี 8,617 คน
- คนที่ได้คะแนน 90.001-100 คะแนน มี 6 คน
จากคะแนน TGAT3 ปี 67 ค่าเฉลี่ย จะอยู่ที่ 65.402 คะแนน ซึ่งสูงกว่า TGAT1 และ TGAT2
พี่เลยอยากให้น้อง ๆ ตั้งเป้าหมายคะแนนให้เกิน 80 คะแนนขึ้นไปนะครับ เพราะ TGAT3 สามารถเก็บคะแนนได้ง่ายกว่าพาร์ตอื่น ๆ และถ้าสังเกตดี ๆ ก็มีคนได้คะแนนในช่วง 70-80 คะแนนถึง 102,210 คน เลยทีเดียว
อ้างอิงจาก: https://assets.mytcas.com/67/T67-People-Range-TGAT.jpg
แนวข้อสอบ TGAT3 การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม
ข้อสอบจะเน้นการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ตามข้อมูลที่โจทย์ให้มา เกี่ยวกับการทำงาน การทำธรุกิจ และการสร้างสินค้า โดยข้อสอบส่วนนี้จะให้เลือกตอบแค่คำตอบเดียว และคะแนนจะขึ้นอยู่กับคำตอบที่น้อง ๆ เลือก ตั้งแต่ 0.25-1 คะแนน
ข้อสอบ TGAT3 การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม ประกอบไปด้วย
- การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) คือการวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลที่ได้รับออกเป็น สาเหตุ ผลลัพธ์ ผลกระทบ ข้อเสนอแนะ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
- การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ (Professional problem solving) คือการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) คือการนำความคิดสร้างสรรค์มาปรับใช้ให้เหมาะสม และเสนอแนวคิดใหม่ ๆ
หลักการที่ควรรู้เพื่อทำข้อสอบ TGAT3 การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม
เนื่องจากข้อสอบจะเป็นการวิเคราะห์และแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่โจทย์ให้มา ในส่วนนี้พี่เลยสรุปหลักการสำคัญ ๆ ที่น้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำข้อสอบได้ ซึ่งการฝึกคิดโดยอ้างอิงตามหลักการจะทำให้น้องได้คะแนนในส่วนนี้อย่างแน่นอน
Critical thinking + Data sufficiency + Logical reasoning
คือ การคิดอย่างมีหลักการ ระบุให้ได้ว่าปัญหาคืออะไร จะแก้ปัญหาได้อย่างไร มีขั้นตอนการแก้ปัญหาอะไรบ้าง ข้อมูลเพียงพอหรือไม่สำหรับการแก้ปัญหาหรือมีวิธีอื่นในการแก้ปัญหาอีกหรือไม่
Design thinking: 5 stages of design thinking process
คือ การคิดเชิงออกแบบเพื่อสร้างนวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาของผู้ใช้ได้ โดยมีกระบวนการทำความเข้าใจปัญหา นำเสนอทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ผ่าน 5 ขั้นตอน ดังนี้
- Empathize: เข้าใจผู้ใช้งาน โดยพยายามทำความเข้าใจว่าผู้ใช้ต้องการอะไร มีปัญหาอะไรที่ต้องการแก้ไข ซึ่งสามารถทำความเข้าใจผู้ใช้ผ่านการสังเกต ตั้งคำถาม และ สัมภาษณ์
- Define: นิยามปัญหา คือการสรุปข้อมูลที่ได้จาการทำความเข้าใจผู้ใช้ในขั้นตอนที่แล้วเพื่ออธิบายปัญหาของผู้ใช้ออกมาให้ชัดเจนที่สุด
- Ideate: สร้างสรรค์ คือการระดมความคิดจากหลากหลายมุมมองเพื่อหาไอเดียที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Prototype: จำลอง คือสร้างแบบจำลองจากไอเดียที่ได้ว่าสามารถตอบโจทย์ปัญหาของผู้ใช้ได้หรือไม่
- Test: ทดสอบ คือการนำแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาทดสอบกับผู้ใช้ ว่าตอบโจทย์การใช้งานและมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด
ตัวอย่างข้อสอบ
ลิซ่าเป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างสูงและมีน้ำหนักตัวที่น้อย มักจะพบความลำบากในการหาเดรสที่มีขนาดพอดีตัวมาสวมใส่ เธอจึงมองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำแบรนด์เสื้อผ้าสำหรับคนที่มีหุ่นรูปร่างแบบเธอได้สวมใส่โดยเฉพาะ เธอได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองอยู่ 3 เดือน จนในที่สุดก็ได้เดรสต้นแบบขึ้นมา 1 ชุด ถ้านักเรียนเป็นลิซ่า นักเรียนจะทำอย่างไรในลำดับถัดไป
- นำเดรสต้นแบบ มาให้ญาติทุกคนลองสวมใส่
- จ้างผลิตจำนวน 1,000 ตัว เพื่อเตรียมวางขาย
- นำเดรสต้นแบบ ไปขอความเห็นจากเพื่อน ๆ ที่มีรูปร่างแบบเธอ
- หาช่องทางส่งออกเดรส ไปยังต่างประเทศ
คำตอบ ข้อ 3. ได้ 1 คะแนน จะเห็นได้ว่าถ้าใช้หลักการ design thinking ตอนนี้คืออยู่ในขั้นที่ได้ prototype มาแล้ว 1 ชุด ขั้นต่อไปควรจะเป็นการทดสอบ ซึ่งจะต้องตอบโจทย์ของผู้ที่มีรูปร่างแบบเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาที่มีเหมือนกัน ส่วนข้อ 1. ได้ 0.75 คะแนน ข้อ 2. ได้ 0.5 คะแนน ข้อ 4. ได้ 0.25 คะแนน
แนวข้อสอบ TGAT3 การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
ในข้อสอบจะมีบทความมาให้แล้วถามถึงวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือในการหาคำตอบ คือ ต้องรู้ว่าโจทย์ต้องการอะไร สามารถระบุได้ว่าปัญหาคืออะไร แล้ววิเคราะห์ว่าในคำตอบมีข้อไหนช่วยแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบ้าง ถ้าข้อไหนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ให้ตัดออกก่อนจะได้ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น
โดยในข้อสอบมีการตอบคำถาม 2 แบบ คือ
- ข้อสอบ 1 ข้อ มีหลายคำตอบ
- ข้อสอบ 1 ข้อ มีคำตอบเดียว คะแนนตามความถูกต้องของคำตอบ ตั้งแต่ 0.25-1 คะแนน
ข้อสอบ TGAT3 การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน ประกอบไปด้วย
- การระบุปัญหา (Identifying problems) คือ การระบุและทำความเข้าใจปัญหา
- การแสวงหาทางออก (Generating and selecting solutions) คือ การสร้างและหาวิธีแก้ปัญหา
- การนำทางออกไปแก้ปัญหา (Implementation) คือ การปฏิบัติตามวิธีการแก้ปัญหา
- การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (Evaluation) คือ การสรุปและประเมินผลว่าวิธีแก้ปัญหาเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่
ตัวอย่างข้อสอบ
เมื่อคุณได้ข้อมูลจำเป็นเกี่ยวกับปัญหาข้างต้น คุณจะจัดการกับปัญหาอย่างไรเพื่อให้คุณแน่ใจว่าพ่อแม่
ไม่ต้องกังวลเรื่องพฤติกรรมการเล่นเกมของน้อง
- ชวนพ่อแม่มาเล่นเกมกับน้อง และทำให้เห็นว่าน้องยังรับผิดชอบต่องานของตนเองได้เป็นอย่างดี พร้อมกับบอกน้องถึงความต้องการของพ่อแม่ แล้วจึงร่วมกันตั้งกฎของครอบครัวในเรื่องนี้
- สร้างข้อตกลงว่าจะให้น้องใช้โทรศัพท์ในการเล่นเกม 30 นาทีในตอนเย็น หลังจากที่น้องรับผิดชอบการเรียนและหน้าที่อื่น ๆ แล้ว ส่วนเวลาอื่น ๆ จะเก็บอุปกรณ์เล่นเกมทั้งหมดเพื่อให้น้องได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง
- ค้นหากิจกรรมอื่น ๆ ที่น้องชื่นชอบ แล้วชวนน้องไปเล่นกิจกรรมที่น้องสนใจด้วยกันกับเรา เพื่อลดเวลาในการเล่นเกมของน้องลง และยังได้สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนในครอบครัว
- แสดงออกถึงความเข้าใจการเล่นเกมของน้อง พูดคุยกับน้องถึงความกังวลใจของพ่อแม่และร่วมกันคิดหาวิธีที่จะเล่นเกมกันอย่างเหมาะสม และไม่เป็นที่กังวลใจของพ่อแม่
คำตอบ ข้อ 1.
แนวข้อสอบ TGAT3 การบริหารจัดการอารมณ์
ข้อสอบจะมีลักษณะคล้ายข้อสอบวัด EQ ที่ต้องอาศัยความฉลาดทางอารมณ์ในการตอบคำถาม เน้นเรื่องทักษะการเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น และควบคุมอารมณ์ให้เหมาะสม ต้องอ่านตัวเลือกให้ละเอียด ทำข้อสอบอย่างใจเย็นและมีสติ การตัดช้อยส์ที่ไม่ใช่แน่ ๆ ก่อน จะเป็นการช่วยให้หาข้อที่ถูกได้เร็วขึ้น ข้อสอบจะให้เลือกตอบแค่คำตอบเดียว และคะแนนจะขึ้นอยู่กับคำตอบที่น้อง ๆ เลือก ตั้งแต่ 0-1 คะแนน
ข้อสอบ TGAT3 การบริหารจัดการอารมณ์ ประกอบด้วย
- ความตระหนักรู้ตนเอง (Self awareness) คือ การรับรู้และควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control) คือ การแสดงออก และควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสมเมื่อพบเจอคนอื่น หรือ สถานการณ์ที่ไม่คุ้นชิน
- ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding) คือ เข้าใจความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น และสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างเท่าเทียมและเหมาะสม
ตัวอย่างข้อสอบ
สมมติว่าคุณเป็นเด็กชาย อายุ 15 ปี ขณะกำลังเดินอยู่ในโรงเรียน คุณได้ยินเสียงคนทะเลาะกัน จึงเดินไปยังต้นเสียง พอเดินไปจึงพบว่าเพื่อนสนิทของคุณกำลังถูกแย่งโทรศัพท์มือถือจากคนอีกกลุ่มหนึ่ง สิ่งที่ควรทำมากที่สุดในสถานการณ์นี้คืออะไร
- เข้าไปช่วยเหลือเพื่อน โดยเอาตัวของคุณเข้าไปขวางไม่ให้เขาทะเลาะกัน
- ตะโกนบอกให้หยุด เพราะเพื่อนคุณคงรู้สึกกลัวและอาย
- วิ่งไปหาครูเพื่อขอให้ครูมาช่วย เพราะเพื่อนกำลังโกรธ
- ต้องเอาคืนแทนเพื่อน ถ่ายคลิปเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานให้ทางโรงเรียน
คำตอบ ข้อ 3. ได้ 1 คะแนน ส่วนข้อ 1. ได้ 0 คะแนน ข้อ 2. ได้ 0.5 คะแนน ข้อ 4. ได้ 0.25 คะแนน
แนวข้อสอบ TGAT3 การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม
ในการทำข้อสอบส่วนนี้ เน้นเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งที่เราทำได้เพื่อพัฒนาชุมชน และสิ่งแวดล้อม อย่าลืมอ่านโจทย์ให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะข้อสอบจะให้เลือกตอบแค่คำตอบเดียว และคะแนนจะขึ้นอยู่กับคำตอบที่น้อง ๆ เลือก ตั้งแต่ 0-1 คะแนน
ข้อสอบ TGAT3 การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม ประกอบด้วย
- การมุ่งเน้นการบริการสังคม (Service orientation) คือ การคิด การศึกษา และทำสิ่งต่าง ๆ อย่างยั่งยืนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงความต้องการของสังคม
- จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental responsibility) คือ การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนให้น่าอยู่
- การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (Creating local benefits) คือ การพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในระยะยาวและยั่งยืนให้แก่ประชาชน พื้นที่ หรือท้องถิ่นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวอย่างข้อสอบ
ในการแก้ปัญหาขยะในชุมชน วิธีใดต่อไปนี้สามารถแก้ปัญหาได้ โดยมีผลกระทบต่อชุมชนน้อยที่สุด
- กำหนดให้ร้านค้าในชุมชน ยกเลิกการใช้ถุงพลาสติก
- สอนวิธีการแยกขยะ ให้แก่คนในชุมชน
- นำเพิ่มจำนวนถังขยะในชุมชน ตามจุดต่าง ๆ ให้มากขึ้น
- นำทำธนาคารขยะที่ศูนย์กลางชุมชน เพื่อรับซื้อขยะ
คำตอบ ข้อ 2. ได้ 1 คะแนน ส่วนข้ออื่น ๆ ได้ 0 คะแนน
อ้างอิงจาก: https://www.mytcas.com/blueprint/tgat3-93/
คำแนะนำและฟรีข้อสอบ TGAT3
สำหรับข้อสอบ TGAT3 นั้นจะถือว่าเป็นพาร์ตที่เก็บคะแนนได้ง่ายกว่า TGAT พาร์ตอื่น ๆ เพราะเกือบทุกข้อมีคะแนน แต่การจะทำคะแนนได้ดี น้อง ๆ ต้องหมั่นฝึกฝน โดยเฉพาะกับ TGAT3 ที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ตามที่โจทย์ให้มา น้องต้องเข้าใจหลักการที่จำเป็นสำหรับการสอบ ซึ่งพี่ก็ได้อธิบายไปในหัวข้อด้านบนแล้วนะครับ พี่แม็คเชื่อว่าถ้าน้องตั้งใจ น้องจะทำได้อย่างแน่นอน
สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการฝึกทำข้อสอบจริงของ TGAT3 ครบทุกข้อพร้อมเฉลย ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่
และพิเศษสำหรับน้อง ๆ DEK68 คนไหนที่กำลังมองหาคอร์สติว TGAT2 TGAT3 ตอนนี้พี่แม็คก็ได้เปิดคอร์ส FINAL PACK + ตะลุยโจทย์ TGAT2&3 รุ่น68 แล้วนะครับ พี่พาลุยข้อสอบมากกว่า 1,500 ข้อ เลย แล้วมาลุยต่อกันในคอร์สกับพี่แม็คได้เลยน้า^^
FINAL PACK + ตะลุยโจทย์ TGAT 2&3
การคิดอย่างมีเหตุผล และ สมรรถนะการทำงาน
ดูคอร์ส