
สรุปจุดสำคัญ กสพท 69 TPAT1 เตรียมตัวยังไง เทคนิคทำข้อสอบ
พฤษภาคม 22, 2024
กสพท คืออะไร สำคัญยังไง?
กสพท นั้นเป็นชื่อเรียกย่อ ๆ ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ที่เป็นการรวมกลุ่มของคณะสายสุขภาพซึ่งได้แก่ คณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของ 4 คณะดังกล่าว โดย กสพท มีหน้าที่ในการกำหนดเงื่อนไขการรับสมัคร เกณฑ์คัดเลือก ไปจนถึงการสัมภาษณ์ และ กสพท ยังได้เข้าร่วมกับระบบ TCAS รอบที่ 3 Admission ที่มีจำนวนการรับมากสุดเมื่อเทียบกับรอบอื่น ๆ และก็ไม่ได้นำเกรดมัธยมมาคิดคะแนน ใช้คะแนนสอบเพียงอย่างเดียว แต่ก็สามารถสอบได้แค่ปีละครั้ง
คุณสมบัติผู้สมัคร กสพท ใครสมัครสอบ ได้บ้าง?
- นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม. 6
- น้อง ๆ ที่มีวุฒิเทียบเท่า ม.6 เช่น เด็กซิ่ว กศน. ปวช. หรือ จบ ป.ตรี เป็นต้น
- น้องที่กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัย
- นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปี 1 ไม่ต้องลาออก ยกเว้นจะสมัครเข้าคณะเดิมที่อยู่ใน กสพท เช่น เรียนคณะแพทย์อยู่แล้วจะซิ่วเข้าคณะแพทย์อีก ต้องลาออกก่อน วันที่ 25 เมษายน 2568 ตามระเบียบที่ กสพท กำหนด
- นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่สูงกว่าชั้นปี 1 เช่น ปี 2 ปี 3 ต้องลาออกก่อน วันที่ 10 กันยายน 2567 ตามระเบียบที่ กสพท กำหนด
- น้อง ๆ ม.เอกชน ทุกชั้นปี สมัครได้เลย ไม่ต้องลาออก
อ้างอิงจาก: https://cotmesadmission.com/pdf/Ct3Qk91Tv41Cq8Rw5Yx5N.pdf
กสพท 68 มีสนามสอบที่ไหนบ้าง?
กสพท มีสนามสอบ ทั้งหมด 11 จังหวัด ได้แก่
ภาคกลาง
- กรุงเทพฯและปริมณฑล
- นครนายก
- พิษณุโลก
ภาคเหนือ
- เชียงใหม่
ภาคตะวันออก
- ชลบุรี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ขอนแก่น
- นครราชสีมา
- มหาสารคาม
- อุบลราชธานี
ภาคใต้
- สงขลา
- นครศรีธรรมราช
ข้อควรระวัง: เมื่อเลือกสนามสอบแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนได้
อ้างอิงจาก: https://cotmesadmission.com/pdf/Ct3Qk91Tv42Cq8Rw5Yx5N.pdf
สมัครสอบ กสพท ที่ไหน / ค่าสมัครสอบ กสพท เท่าไหร่?
กสพท นั้นจะใช้คะแนน อยู่ 2 ส่วนด้วยกัน ซึ่งก็คือ
- คะแนน TPAT1 วิชาเฉพาะ ความถนัดแพทย์ โดยสามารถสมัครผ่านเว็บไซต์ กสพท https://cotmesadmission.com/ ค่าสมัคร 800 บาท
- คะแนน A-Level วัดความรู้ทางวิชาการซึ่งจะต้องสมัครสอบทั้งหมด 7 วิชา โดยสามารถสมัครผ่านเว็บไซต์ ทปอ. www.mytcas.com ค่าสมัคร วิชาละ 100 บาท รวมทั้งหมดเป็น 700 บาท
สัดส่วนคะแนน กสพท 68
อย่างที่น้อง ๆ ทราบกันว่า ถึงแม้ว่าในปีที่แล้วของ DEK67 ข้อสอบ TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญาจะถูกยกเลิกไป เนื่องจากข้อสอบของกสพท.มีปัญหา แต่ในปีของ DEK68 จะต้องสอบและใช้คะแนน TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญานะครับ สัดส่วนคะแนนอาจมีการเปลี่ยนแปลง
และอย่างที่พี่บอกไปนะครับ ว่ากสพท จะใช้คะแนน 2 ส่วน โดยจะมีสัดส่วนคะแนนที่ใช้ คือ
- กสพท ใช้คะแนน A-Level สัดส่วน 70% (โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนน และแต่ละวิชาต้องได้คะแนนขั้นต่ำ 30 คะแนน)
- วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) 40%
- คณิตศาสตร์ 1 20%
- ภาษาอังกฤษ 20%
- ภาษาไทย 10%
- สังคม 10%
- กสพท ใช้คะแนน TPAT1 สัดส่วน 30%

อ้างอิงจาก: https://cotmesadmission.com/pdf/Ct3Qk91Tv41Cq8Rw5Yx5N.pdf
กสพท 68 รับกี่คน?
เปิดรับสมัครทั้งหมด 2,333 คน
- คณะแพทยศาสตร์ 1,175 คน
- คณะเภสัชศาสตร์ 455 คน
- คณะทันตแพทยศาสตร์ 431คน
- คณะสัตวแพทยศาสตร์ 272 คน
อ้างอิงจาก: https://cotmesadmission.com/pdf/Ct3Qk91Tv41Cq8Rw5Yx5N.pdf
สถิติการรับ กสพท ปี 64-67?

กสพท 67
รับทั้งหมด 2,380 คน
- คณะแพทยศาสตร์ 1,172 คน
- คณะเภสัชศาสตร์ 505 คน
- คณะทันตแพทยศาสตร์ 425 คน
- คณะสัตวแพทยศาสตร์ 278 คน
กสพท 66
รับทั้งหมด 2,308 คน
- คณะแพทยศาสตร์ 1,141 คน
- คณะเภสัชศาสตร์ 490 คน
- คณะทันตแพทยศาสตร์ 390 คน
- คณะสัตวแพทยศาสตร์ 287 คน
กสพท 65
รับทั้งหมด 2,600 คน
- คณะแพทยศาสตร์ 1,211 คน
- คณะเภสัชศาสตร์ 560 คน
- คณะทันตแพทยศาสตร์ 528 คน
- คณะสัตวแพทยศาสตร์ 301 คน
กสพท 64
รับทั้งหมด 2,622 คน
- คณะแพทยศาสตร์ 1,270 คน
- คณะเภสัชศาสตร์ 646 คน
- คณะทันตแพทยศาสตร์ 351 คน
- คณะสัตวแพทยศาสตร์ 355 คน
จากสถิติคณะที่มีการรับมากที่สุดคือ คณะแพทย์ โดยแต่ละปีจะรับ ประมาณ 1,000 กว่าคน และ คณะที่รับน้อยสุดคือ คณะสัตวแพทย์ คือรับ 300 กว่าคน โดยในปี 67 จำนวนการรับจะไม่ค่อยต่างจากปี 66 มากนัก ฉะนั้นน้อง ๆ ที่สนใจคณะไหนสถาบันไหน ก็อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมและติดตามข่าวสาร เผื่อมีคณะไหนเปิดรับเพิ่มน้า
อ้างอิงจาก: https://cotmesadmission.com/pdf/Ct3Qk91Tv41Cq8Rw5Yx5N.pdf
Timeline กสพท 68
กำหนดการปี 68 อัปเดตล่าสุด

ปี 2567
กันยายน 2567
- 1-20 กันยายน สมัครสอบ TPAT1 (ระยะเวลาเกือบเดือน)
ตุลาคม 2567
- 28 ตุลาคม ลงทะเบียน myTCAS (ปลายเดือน)
ธันวาคม 2567
- 14 ธันวาคม สอบ TPAT1 (กลางเดือน)
ปี 2568
กุมภาพันธ์ 2568
- 3 กุมภาพันธ์ ประกาศผล TPAT1 (ต้นเดือน)
- 28 มกราคม-6 กุมภาพันธ์ สมัครสอบ A-Level (ต้นเดือน)
มีนาคม 2568
- 8-10 มีนาคม สอบ A-Level (กลางเดือน)
เมษายน 2568
- 17 เมษายน ประกาศผล A-Level (กลางเดือน)
พฤษภาคม 2568
- 6-12 พฤษภาคม สมัคร TCAS รอบ 3 Admission (ต้นเดือน)
- 20 พฤษภาคม ประกาศผล TCAS รอบ 3 Admission (ปลายเดือน)
อ้างอิงจาก: https://cotmesadmission.com/pdf/Ct3Qk91Tv41Cq8Rw5Yx5N.pdf
TPAT1 สำคัญยังไง
สำหรับน้อง ๆ ที่เตรียมตัวสอบสายแพทย์ คงจะคุ้นเคยกับ TPAT1 กันมาบ้างแล้ว ว่าคือข้อสอบเฉพาะ ที่วัดความถนัดทางวิชาชีพแพทย์ จัดสอบโดย กสพท และคะแนน TPAT1 นั้นยังคิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของการยื่นคะแนนเพื่อเข้าคณะสายแพทย์ พอเห็นแบบนี้แล้วการเตรียมตัว เพื่อทำคะแนนตรงส่วนนี้ให้ดีก็จะทำให้น้อง ๆ มีสิทธิ์เข้าคณะที่น้อง ๆ ต้องการมากขึ้นอีกก้าว
TPAT1 สอบอะไรบ้าง?
ข้อสอบจะแบ่งเป็นทั้งหมด 3 พาร์ต ประกอบด้วย
- พาร์ต1 เชาวน์ปัญญา 100 คะแนน
โดยเนื้อหาจะเน้นการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล คิดคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ มีเรื่อง อนุกรม มิติสัมพันธ์ วิเคราะห์เงื่อนไข คณิตศาสตร์แนวแพทย์ เชาวน์ไทย กราฟ ตาราง
- พาร์ต2 จริยธรรมทางการแพทย์ 100 คะแนน
เพื่อประเมินทัศนคติเกี่ยวกับจริยธรรมในสถานการณ์ทั่วไป และจริยธรรมแพทย์พื้นฐาน
- พาร์ต3 เชื่อมโยง 100 คะแนน
เน้นความเข้าใจความสัมพันธ์ภาพรวม โดยหาความเชื่อมโยงเหตุการณ์ของบทความที่ให้มา
เทคนิคทำข้อสอบ TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท
ในส่วนนี้พี่ได้ทำการสรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับการสอบแต่ละพาร์ตใน TPAT1 ซึ่งเดี๋ยวพี่จะทำโพสแยกอีกทีแบบละเอียดอย่าลืมติดตามกันด้วยน้า
จากประสบการณ์การสอนของพี่ สำหรับ TPAT1 คิดว่าพาร์ตที่ยากที่สุดคือ เชาวน์ปัญญา กับจริยธรรมทางการแพทย์ ส่วนพาร์ตที่บังคับให้น้องต้องได้คะแนนเต็ม คือพาร์ตเชื่อมโยง แต่น้อง ๆ ก็อย่าพึ่งหมดกำลังใจไป ถ้าน้องตั้งใจฝึก ทำข้อสอบเก่าอย่างสม่ำเสมอ คะแนนที่หวังก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน
TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา
เวลาในการทำข้อสอบ 75 นาที มี 45 ข้อ เฉลี่ยข้อละ 1 นาทีกว่า
สำหรับเนื้อหาพาร์ตเชาวน์ปัญญา แบบเจาะลึก และเทคนิคการทำข้อสอบ พี่ได้รวบรวมไว้ที่
เนื่องจากข้อสอบ จะมีหลากหลายหัวข้อ ให้เน้นทำข้อสอบที่พออ่านแล้ว ทำได้ก่อน ข้อที่ใช้เวลาคิดเยอะข้ามไปก่อน และพี่ได้รวมรวบข้อสอบเก่าให้น้อง ๆ ไปฝึกทำกันได้ที่
ตัวอย่างโจทย์ TPAT1 พาร์ตเชาวน์ปัญญา
โจขับรถไปทํางานทุกเช้า ในระหว่างทางจะต้องเจอทางแยกและไฟจราจร เช้าวันหนึ่งรถของโจติดไฟแดง เขาสังเกตพบว่ามีรถอยู่ 14 คัน ที่อยู่ระหว่างเขาและไฟแดง โดยไฟแดง(สัญญาณรถหยุด)จะแสดง 42 วินาที ในขณะที่ไฟเขียว(สัญญาณให้รถผ่าน)จะแสดง 10 วินาที โดยจะทำให้รถผ่านแยกไปได้ 7 คัน แล้วสัญญาณไฟแดงก็กลับมาแสดงอีกครั้ง ทำให้รถที่อยู่หลังเส้นสัญญาณต้องหยุดรอ จงหาว่าโจต้องรอนานเท่าใดจึงจะขับรถผ่านแยกนี้ได้ (ข้อสอบจริงปี67)
- 52 วินาที
- 1 นาที 34 วินาที
- 1 นาที 44 วินาที
- 2 นาที 26 วินาที
- 2 นาที 36 วินาที
คำตอบ ข้อ 4.
มีรถก่อนหน้า 14 คัน โจเป็นคันที่ 15
ติดไฟแดง 42 วินาที ไฟเขียว 10 วินาที (ไปได้ 7 คัน) ใช้เวลาทั้งหมด 52 วินาที ตอนนี้โจเป็นคันที่ 8
ติดไฟแดง 42 วินาที ไฟเขียว 10 วินาที (ไปได้ทั้งหมด 14 คัน) ใช้เวลาทั้งหมด 104 วินาที ตอนนี้โจเป็นคันที่ 1 เลยต้องรอติดอีกไฟแดงถึงจะไปได้
ติดไฟแดงอีก 42 วินาที โจก็ไปได้ เลยใช้เวลาทั้งหมด 146 วินาที หรือ 2 นาที 26 วินาที
TPAT1 พาร์ตจริยธรรมทางการแพทย์
เวลาในการทำข้อสอบ 60 นาที จำนวนข้อไม่แน่นอน บางปี 75 ข้อ บางปี 55 ข้อ แต่น้อง ๆ จะมีเวลาโดยเฉลี่ย น้อยกว่า หรือประมาณ 1 นาที ต่อข้อ
สำหรับเนื้อหาพาร์ตจริยธรรม แบบเจาะลึก และเทคนิคการทำข้อสอบ พี่ได้รวบรวมไว้ที่
โดยข้อสอบจะเป็นการกล่าวถึง สถานการณ์สมมุติว่าเป็นแบบนี้ มีความคิดเห็นอย่างไร บางทีโจทย์จะค่อนข้างยาว ฉะนั้นต้องเน้นอ่านโจทย์ให้เร็ว คิดอย่างสมเหตุสมผลในมุมมองตามหลักจริยธรรมแพทย์ขั้นพื้นฐาน อย่าใช้ความรู้สึกเราส่วนตัวในการเลือกข้อถูก การตัดข้อที่คิดว่าไม่ถูกแน่ ๆ จะช่วยให้ทำเร็วขึ้น และติดตามสถานการณ์ข่าวทั่ว ๆ ไป ที่อาจมีในข้อสอบได้
ตัวอย่างโจทย์ TPAT1 พาร์ตจริยธรรมทางการแพทย์
แพทย์คนหนึ่งได้นำมอร์ฟีนซึ่งถูกจำกัดให้ใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้นไปให้ญาติที่เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะ สุดท้ายซึ่งพักรักษาอยู่ที่บ้านเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานให้กับญาติ โดยผิดข้อบังคับของโรงพยาบาล ท่านคิดเห็นอย่างไร (ข้อสอบจริงปี66)
- เข้าใจแพทย์เพราะกระทำเพื่อคนไข้ อีกทั้งยังเป็นญาติอีกด้วยมิใช่หรือ
- ถ้าเอาไปใช้รักษาคนไข้ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ ก็สามารถทำได้มิใช่หรือ
- เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแพทย์มิใช่หรือ
- ถือว่าเป็นการช่วยให้คนไข้ไม่ทรมานมิใช่หรือ
- ควรคำนึงถึงความปลอดภัยคนไข้เพราะไม่มีอุปกรณ์ที่พร้อม หากเกิดความผิดพลาดขึ้นมิใช่หรือ
คำตอบ ข้อ 3. เพราะ จากโจทย์ที่บอกว่าผิดข้อบังคับของโรงพยาบาล
TPAT1 พาร์ตเชื่อมโยง
เวลาในการทำข้อสอบ 60 นาที มีบทความมาให้ 1 บทความ 20 ข้อ
เน้นฝึกอ่านบทความให้เร็ว และหาความเชื่อมโยง ที่เป็นเหตุเป็นผลกัน น้อง ๆ ต้องฝึกให้ชินกับการ เขียนความเชื่อมโยง และรหัสคำตอบ ซึ่งน้อง ๆ สามารถดูตัวอย่างโจทย์และเฉลยได้ที่
การฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ และเทียบกับคำตอบที่ถูก จะทำให้น้อง ๆ เข้าใจแนวทางการตอบมากขึ้น และเวลาที่เห็นโจทย์ลักษณะคล้ายกัน ก็จะสามารถทำได้เร็วขึ้นด้วย สำหรับเนื้อหาพาร์ตจริยธรรม แบบเจาะลึก และเทคนิคการทำข้อสอบ พี่ได้รวบรวมไว้ที่
คำแนะนำ เทคนิคการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือ TPAT1
จากกำหนดการคร่าว ๆ น้อง ๆ จะมีเวลา อย่างน้อย ๆ 2 เดือน (นับจากวันสมัคร) เพื่อเตรียมสอบ
เมื่อน้อง ๆ เห็นแล้วว่าเดือนไหนจะต้องทำอะไร น้อง ๆ ก็จะได้เตรียมตัวสอบได้อย่างเต็มที่
สำหรับน้องคนไหนที่ไม่รู้จะเริ่มเตรียมตัวยังไง ต้องอ่านตรงไหน ฝึกทำข้อสอบเก่าแล้วแต่ยังไม่มั่นใจ
พี่แม็คก็มีตัวอย่างข้อสอบแจกฟรี!!! ให้น้อง ๆ ลองไปฝึกทำเพิ่มเติมได้ที่
นอกจากนี้พี่ยังมีคอร์ส ULTIMATE ความถนัดแพทย์ TPAT1 มาแนะนำให้น้อง ๆ จะได้เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยคอร์สนี้พี่จะสอนครบทุกพาร์ต ได้แก่ เชาวน์ปัญญา จริยธรรมทางการแพทย์ และเชื่อมโยง สอนตั้งแต่พื้นฐาน จนถึงระดับโปร และยังสอนเทคนิคสำคัญที่น้องต้องรู้ ที่ใช้ได้จริงในสนามสอบ ครอบคลุม TPAT1 ครบทุกพาร์ต พร้อมกับตะลุยข้อสอบจริงย้อนหลังหลายปี มีข้อสอบกว่า 1,500 ข้อ ให้น้อง ๆ ได้ฝึก พี่เชื่อว่าถ้าน้อง ๆ ฝึกฝนและเตรียมพร้อม ข้อสอบก็ไม่ยากเกินความสามารถ
คอร์สแนะนำ
แพ็คสุดคุ้มราคาพิเศษ
ดูคอร์สULTIMATE ความถนัดแพทย์ TPAT1
เชาวน์ปัญญา จริยธรรมทางการแพทย์ และเชื่อมโยง
ดูคอร์สเช็กตารางสอบ TPAT1 DEK68 สอบเวลาไหนบ้าง?

TPAT1 มีเวลาสอบรวมทั้งหมด 3 ชม. 15 นาที ประกอบไปด้วย
- พาร์ต1 เชาวน์ปัญญา : สอบ 08:30-09:45 น. (1 ชม. 15 นาที)
- พาร์ต2 จริยธรรมทางการแพทย์ : สอบ 09:55-10:55 น. (1 ชม.)
- พาร์ต3 ความคิดเชื่อมโยง : สอบ 11:30-12:30 น. (1 ชม.)
วันสอบเตรียมตัวยังไง?
ก่อนที่จะถึงวันสอบพี่ว่าน้อง ๆ คงเตรียมตัวอ่านหนังสือกันมาอย่างดีแล้ว พี่ก็ขอเอาใจช่วยให้น้อง ๆ ติดคณะที่ตั้งใจ และมีข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเรื่องอื่น ๆ สำหรับวันสอบเพื่อที่น้อง ๆ จะได้ไม่พลาด
- อุปกรณ์ที่สามารถนำเข้าห้องสอบได้ จะมี เอกสารสำหรับยืนยันตัวตน นาฬิกา และอื่น ๆ ตามที่ทาง กสพท อนุญาต ส่วนพวกเครื่องเขียน ทางสนามสอบจะเตรียมดินสอ 2B กับยางลบไว้ให้แล้ว
- เผื่อเวลาไปสนามสอบ เผื่อมีเหตุฉุกเฉินอะไรจะได้มีเวลาแก้ไขได้ทัน
- การแต่งกายทาง กสพท ได้ระบุให้แต่งกายตามสถานะของน้อง ๆ เช่น น้อง ม.6 ก็ใส่ชุดนักเรียน น้อง ๆ เด็กซิ่วจะใส่ชุดนักศึกษา หรือ ชุดสุภาพ ก็ได้
- เอกสารและหลักฐานที่ใช้สำหรับการสอบควรเตรียมให้พร้อม เพื่อที่จะได้ไม่เสียเวลาในการยืนยันตัวตน
คะแนนออกแล้ว เช็กผลคะแนน กสพท ยังไง?
คะแนนที่น้อง ๆ ใช้จะมี 2 ส่วนด้วยกัน ซึ่ง TPAT1 กสพท จะสอบและประกาศคะแนนก่อน ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูคะแนนของตัวเองได้ที่ เว็บไซต์ กสพท https://cotmesadmission.com/ พอน้อง ๆ ทราบคะแนน TPAT1 น้องก็สามารถประเมินคร่าว ๆ ได้ว่าจะต้องทำคะแนน A-Level ให้ได้ประมาณไหน
โดยคะแนน A-Level ก็จะประกาศ ผ่านเว็บไซต์ ทปอ. www.mytcas.com
หลังจากน้อง ๆ ทราบคะแนนทั้ง 2 ส่วน ก็อย่าลืมดูสถิติคะแนนของแต่ละคณะ/สถาบัน เพื่อที่จะได้จัดอันดับที่ใช้ยื่นเข้าคณะที่ตั้งใจกันนะครับ สามารถเข้าไปดูสถิติคะแนนที่พี่รวบรวมไว้ได้ที่